โดยทั่วไปมีวิธีปฏิบัติ 4 วิธี ได้แก่ ดู คลำ เคาะ ฟัง
1. การดู (Inspection) เป็นการสำรวจด้วยสายตาว่าผู้ป่วยมีสิ่งผิดปกติอย่างไรบ้าง ควรเริ่มดูตั้งแต่ผู้ป่วยเดินเข้ามาและขณะซักประวัติสุขภาพโดยทั่วๆ เป็นระบบด้วยตาเปล่า (unaided eyes) หรืออาจใช้เครื่องมือช่วย (aid eyes) เช่น Otoscope, Ophthalmoscope
สิ่งที่ควรดูเป็นประจำคือ สีต่างๆ เช่น
– ซีด (anemia), เหลือง (jaundice), และเขียว (Cyanosis)
– ขนาด ความสูงต่ำ รูปร่าง ความเหมือนกันสองข้าง (symmetry)
2. การคลำ (Palpation) เป็นการตรวจร่างกายโดยการสัมผัสด้วยมือ ฝ่ามือ หรือหลังมือ บางครั้งอาจทำร่วมกับการดูด้วย ลักษณะการคลำอาจใช้วิธีการคลำเบาๆ (light or superficial palpation) หรือการคลำลึกๆ (deep or bimanual palpation)
การคลําที่ถูกต้องจะทําให้แยกได้ถึง
• ความหยาบ-ละเอียด (texture) ซึ่งส่วนที่ใช้ในการตรวจได้ดี คือบริเวณปลายนิ้ว สิ่งที่พบอาจบรรยายได้ตั้งแต่ลักษณะผิวหนังแห้ง หยาบ ผื่นลักษณะต่างๆ เช่น papule, macule, plaque ฯลฯ ตลอดจนลักษณะของก่อนต่างๆที่ผิดปกติ เช่น ก้อนต่อม น้ำเหลือง
• ขนาด (dimension) อาจใช้หลายนิ้ว ทั้งมือหรือทั้งสองมือ (bimanual) ขึ้นกับขนาดของส่วนที่ต้องการตรวจ เช่น การคลํา ไต หรือตับ เป็นต้น
• ความแข็งอ่อน (consistency) ขึ้นกับความหนาแน่นของสิ่งนั้น จะรู้สึกได้ดีโดยใช้ปลายนิ้ว เช่น การคลําต่อมน้ำเหลืองว่านิ่ม (soft) แข็งเหมือนยางลบ (rubbery) หรือแข็งมาก (stony hard, bony hard)
• อุณหภูมิ (temperature) หลังมือจะเป็นส่วนที่ใช้ตรวจได้ดีที่สุดเพราะมีลักษณะบาง และเส้นประสาทมาก บริเวณที่มีการอับเสบมักจะอุ่นกว่า และบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยก็จะรู้สึกเย็น
• นอกจากนั้นการคลํายังช่วยบอกว่ามีการกดเจ็บ (tenderness) ก่อนมีการเคลื่อนไหว (movable) หรือยึดติดแน่น (fixed) ได้อีกด้วย