หลักการซักประวัติ

การซักประวัติ หมายถึง การสนทนาหรือซักถาม แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคน 2 คนหรือมากกว่าอย่างมีจุดมุ่งหมาย การซักประวัติประกอบด้วยผู้ซักประวัติ ผู้ถูกซักประวัติและจุดมุ่งหมายการซักประวัติ

ขั้นตอนการซักประวัติ (History taking)

รายละเอียดพื้นฐาน (Initial data, data base) เช่น ชื่อ-สกุล เพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา สถานที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ

อาการสำคัญ (Chief complaints : CC) 
อาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมารับการรักษา “ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด 1-2 อาการ 
(ตามคำบอกเล่าผู้ป่วย) และระยะเวลาที่แน่นอน

ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน (Present illness : PI)

S__3342345
S__3342346

ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว (Family history)
เช่น ประวัติตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่พี่น้องท้องเดียวกันว่ามีการเจ็บป่วยร้ายแรงหรือไม่ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคเลือด มะเร็ง

ประวัติการเจ็บป่วยในเพื่อนบ้าน – คนข้างเคียงเป็นโรคติดเชื้อ

ประวัติส่วนตัว (Personal history)
ประวัติซึ่งช่วยให้ทราบถึงการดำรงชีวิตซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเจ็บป่วย เช่น ยาที่ใช้ประจำ สารเสพติด การนอนหลับ การขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ

ประวัติประจำเดือนและการตั้งครรภ์

ประวัติเด็ก เช่น การคลอด การเลี้ยงดู พัฒนาการ วัคซีน

ประวัติตามระบบ (Review of system หรือ ROS) เป็นการซักประวัติตามระบบจากศีรษะจรดเท้า 

ประวัติอาการตามระบบต่างๆ ได้แก่ การถามถึงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอื่นๆ ของร่างกายทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อค้นหาอาการผิดปกติที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยครั้งนี้ และยังช่วยให้ค้นพบอาการหรือความผิดปกติที่ถูกมองข้าม

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest